หัวข้อ   “ ความรักในวันมาฆบูชา กับความรักของคนไทยที่มีให้แก่กัน
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ เป็นวันมาฆบูชาและวันวาเลนไทน์ ซึ่ง
หมุนเวียนมาบรรจบกันในปีนี้ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) ได้ทำการ
สำรวจความเห็นในหัวข้อ “ความรักในวันมาฆบูชา กับความรักของคนไทยที่มีให้แก่กัน”
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนความคิดเห็นในเรื่องความรักที่มีให้กัน ไม่ว่าจะเป็นความรักที่มี
ต่อคนรัก หรือความรักที่มีต่อคนไทยด้วยกันเอง ทั้งนี้ศูนย์วิจัยฯ ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจาก
ประชาชนในพื้นที่ กรุงเทพฯและปริมณฑล ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,188 คน มีผลสำรวจดังนี้
 
                  ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 58.9 ทราบว่า วันมาฆบูชาในปีนี้ตรงกับ
วันวาเลนไทน์
ขณะที่ ร้อยละ 41.1 ไม่ทราบ ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 55.7 ระบุว่า
มีความคุ้นเคยกับวันมาฆบูชามากกว่าวันวาเลนไทน์
ส่วนร้อยละ 37.4 ระบุว่าคุ้นเคยกับ
วันวาเลนไทน์มากกว่า
 
                  ทั้งนี้ในวันดังกล่าวประชาชนร้อยละ 46.3 ตั้งใจจะชวนคนรักไปทำบุญ
ตักบาตร เวียนเทียนที่วัด
รองลงมาร้อยละ 31.4 ตั้งใจจะให้ทั้งดอกกุหลาบและชวนกันไป
ทำบุญ เวียนเทียนที่วัด และร้อยละ 8.0 ตั้งใจจะให้ดอกกุหลาบหรือสิ่งของแทนใจกัน ขณะที่
ร้อยละ 14.3 จะไม่ทำกิจกรรมใดเลย
 
                  ส่วนสิ่งที่เห็นว่าคู่รักควรปฏิบัติต่อกันเพื่อให้ครองรักกันได้อย่างยั่งยืน
คือ ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อกัน (ร้อยละ 35.4)
รองลงมาคือ ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน
(ร้อยละ 26.3) และ การให้อภัยแก่กัน (ร้อยละ 18.6)
 
                  เมื่อถามถึงความรักที่คนไทยมีต่อกันท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
พบว่า
 
                  ความรู้สึกต่อผู้อื่นที่มีความเห็นต่างทางการเมือง(อยู่คนละฝ่ายกัน) ร้อยละ 73.1 บอกว่า รู้สึกเฉยๆ
ไม่ได้โกรธไม่ได้เกลียด
รองลงมาร้อยละ 17.0 รู้สึกไม่ชอบฝ่ายตรงข้าม และร้อยละ 6.8 รู้สึกเข้าใจ เป็นเรื่องธรรมดาที่
เกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไป
 
                  ส่วนเรื่องที่คิดว่าทำให้คนไทยรักกันน้อยลงคือความคิดของคนที่แตกต่างกัน (ร้อยละ 40.0) รองลงมา
คืออุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน (ร้อยละ 18.5) และ เป็นเพราะนักการเมือง (ร้อยละ 16.9)
 
                  สุดท้ายเมื่อถามถึงโอกาสที่คนในสังคมไทยจะกลับมารักและสามัคคีกันอย่างที่เคยเป็นมา ร้อยละ
34.9 คิดว่าเป็นไปได้แต่คงนานกว่า 5 ปี
รองลงมาร้อยละ 17.1 เห็นว่าเป็นไปได้แน่นอนภายในเวลา 5 ปี และร้อยละ 12.5
เห็นว่าคงเป็นไปไม่ได้แล้วสำหรับในชั่วชีวิตนี้ ขณะที่ไม่แน่ใจมีถึง ร้อยละ 35.5
 
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
                  ความรักที่มีต่อคนรัก
 
             1. การรับทราบว่าวันวาเลนไทน์ปีนี้ตรงกับวันมาฆบูชา

 
ร้อยละ
ทราบ
58.9
ไม่ทราบ
41.1
 
 
             2. ความคุ้นเคยระหว่างวันวาเลนไทน์ กับวันมาฆบูชา

 
ร้อยละ
คุ้นเคยกับวันมาฆบูชามากกว่า
55.7
คุ้นเคยกับวันวาเลนไทน์มากกว่า
37.4
ไม่คุ้นเคยกับวันใดเลย
5.4
คุ้นเคยกับทั้งสองวันเท่ากัน
1.5
 
 
             3. กิจกรรมที่จะทำกับคนรักในวันมาฆบูชา และวันวาเลนไทน์ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ นี้

 
ร้อยละ
ไปทำบุญตักบาตร/เวียนเทียนด้วยกัน
(เน้นกิจกรรมมาฆบูชา)
46.3
ให้ดอกไม้/สิ่งของแทนใจแก่กัน
(เน้นกิจกรรมวาเลนไทน์)
8.0
ทั้งให้ดอกไม้และไปทำบุญ/เวียนเทียนด้วยกัน
(เน้นทั้ง 2 กิจกรรม)
31.4
ไม่ทำกิจกรรมใดเลย
14.3
 
 
             4. สิ่งที่คิดว่าคู่รักจะต้องปฏิบัติต่อกันเพื่อให้สามารถครองรักได้อย่างยั่งยืน 5 อันดับแรก

 
ร้อยละ
ซื่อสัตย์ต่อกัน
35.4
ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
26.3
ให้อภัยแก่กัน
18.6
อดทน ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ
13.0
เป็นผู้ฟังที่ดี/รับฟังเหตุผลกัน
1.9
 
 
                  ความรักที่คนไทยมีต่อกันท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
 
             5. ความรู้สึกที่มีต่อผู้อื่นที่มีความเห็นต่างทางการเมือง(อยู่คนละฝ่ายกัน)

 
ร้อยละ
เฉยๆ ไม่ได้โกรธไม่ได้เกลียด
73.1
ไม่ชอบ
17.0
รู้สึกเข้าใจ เป็นเรื่องธรรมดา ที่เกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไป
6.8
เกลียด/โกรธ
3.1
 
 
             6. สิ่งที่ทำให้คนไทยรักกันน้อยลง

 
ร้อยละ
ความคิดที่แตกต่างกัน
40.0
อุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน
18.5
เป็นเพราะนักการเมือง
16.9
ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
12.0
การแบ่งชนชั้นทางสังคม
7.7
อื่นๆ อาทิ ความเห็นแก่ตัว การเข้าถึงข้อมูลที่ต่างกัน
            การไม่ยอมรับฟังความเห็นของคนอื่น ฯลฯ
4.9
 
 
             7. โอกาสที่คนในสังคมไทยจะกลับมารักและสามัคคีกันอย่างที่เคยเป็นมา

 
ร้อยละ
เป็นไปได้แต่คงนานกว่า 5 ปี
34.9
เป็นไปได้แน่นอนภายในเวลา 5 ปี
17.0
คงเป็นไปไม่ได้แล้วสำหรับในชั่วชีวิตนี้
12.5
ไม่แน่ใจ
35.4
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในโอกาสวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้
เป็นวันมาฆบูชาซึ่งในปีนี้ตรงพอดีกับวันวาเลนไทน์ ในเรื่องความคุ้นเคยระหว่างวันสำคัญทั้ง2 วัน กิจกรรมที่จะทำในวันที่
14 กุมภาพันธ์ สิ่งที่ทำให้ครองรักกันยั่งยืน รวมไปถึงความรักของคนไทยที่มีต่อกัน ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง
ที่มีอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 - 55 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ด้วยวิธีสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,188 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.5
และเพศหญิงร้อยละ 51.5
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 3 - 5 กุมภาพันธ์ 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 10 กุมภาพันธ์ 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
576
48.5
             หญิง
612
51.5
รวม
1,188
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
306
25.8
             26 – 35 ปี
326
27.4
             36 – 45 ปี
306
25.8
             46 – 55 ปี
250
21.0
รวม
1,188
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
741
62.4
             ปริญญาตรี
398
33.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
49
4.1
รวม
1,188
100.0
อาชีพ:
   
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
126
10.6
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
348
29.3
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
364
30.7
             เจ้าของกิจการ
45
3.7
             รับจ้างทั่วไป
120
10.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
55
4.6
             นักเรียน นักศึกษา
120
10.1
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
10
0.9
รวม
1,188
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776